ฮอตสปอตเป็นการใช้งานสาธารณะทั่วไปของ APs ที่ซึ่งลูกข่ายไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเป็นเครือข่ายอะไรหรือของใครในขณะนั้นโดยเฉพาะ แนวคิดนี้ได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาในเมืองใหญ่ที่มีการรวมกันของร้านกาแฟ, ห้องสมุด และ access points ส่วนบุคคล ที่ยอมให้ลูกข่ายเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ. การสะสมของ hotspots ที่ที่เชื่อมต่ออยู่จะถูกเรียกว่าเครือข่าย Lily Pad
APs ถูกใช้กันโดยทั่วไปในเครือข่ายไร้สายภายในบ้านที่มี AP เพียงตัวเดียวจะที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นเราต์เตอร์ไร้สายที่หมายถึงการรวมกันของ อุปกรณ์ได้แก่ AP, เราเตอร์หนึ่งตัวและสวิทช์อีเธอร์เน็ต บางแห่งที่รวมถึงโมเด็มบรอดแบนด์เข้าไปด้วย ในสถานที่ที่บ้านส่วนใหญ่จะมี AP ของตัวเองและอยู่ในระยะทำการของ AP ของเพื่อนบ้าน, จึงเป็นไปได้สำหรับคนเข้าใจเทคนิคที่จะปิดการเข้ารหัสลับของพวกเขาและจัดตั้งเป็นเครือข่ายชุมชนไร้สาย, แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธความต้องการเครือข่ายแบบมีสาย
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เร้าเตอร์
เราเตอร์ (อังกฤษ: router) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(forward)แพ็กเกตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ OSI Model
เราเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจากเครือข่ายที่แตกต่างกัน เมื่อแพ็คเก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เราเตอร์จะอ่านข้อมูล address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย จากนั้น, ด้วยข้อมูลในตารางเส้นทางหรือนโยบายการส่ง, จะส่งแพ็กเก็ตไปยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางนั้น เราเตอร์จะดำเนินการ "กำกับการจราจร" บนเส้นทางนั้นด้วย แพ็คเก็ตข้อมูลโดยทั่วไปจะถูกส่งจากเราเตอร์หนึ่งไปยังอีกเราเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายที่เป็น Internetwork จนกว่าจะถึงโหนดปลายทาง[1]
อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
software
เป็นการที่ใช้หรือเช่าใช้บริการซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่น ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยประมวลผลบนระบบของผู้ให้บริการ ทำให้ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เอง ไม่ต้องพะวงเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ เพราะซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานผ่าน Cloud จากที่ไหนก็ได้
ซึ่งบริการ Software as a Service ที่ใกล้ตัวเรามากทื่สุดก็คือ GMail นั่นเอง นอกจากนั้นก็เช่น Google Docs หรือ Google Apps ที่เป็นรูปแบบของการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านเว็บบราวเซอร์ สามารถใช้งานเอกสาร คำนวณ และสร้าง Presentation โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องเลย แถมใช้งานบนเครื่องไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ แชร์งานร่วมกันกับผู้อื่นก็สะดวก ซึ่งการประมวลผลจะทำบน Server ของ Google ทำให้เราไม่ต้องการเครื่องที่มีกำลังประมวลผลสูงหรือพื้นที่เก็บข้อมูลมากๆในการทำงาน Chromebook ราคาประหยัดซักเครื่องก็ทำงานได้แล้ว มหาวิทยาลัยทั้งในไทยและต่างประเทศหลายแห่งในปัจจุบัน ก็ยกเลิกการตั้ง Mail Server สำหรับใช้งาน e-mail ของบุคลากร และนักศึกษาในมหาวิทยลัยกันเองแล้ว แต่หันมาใช้บริการอย่าง Google Apps แทน เป็นการลดต้นทุน, ภาระในการดูแล, และความยุ่งยากไปได้มาก
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ความหมายของ Cloud Computing
Cloud Computing คือบริการที่เราใช้หรือเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware และ Software เองทั้งระบบ ไม่ต้องวางระบบเครือข่ายเอง ลดความรับผิดชอบในการดูแลระบบลง (เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลให้เอง) แถมตอนอัพเกรดระบบยังทำได้ง่ายกว่า ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบ ข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถจัดการ บริหารทรัพยากรของระบบ ผ่านเครือข่าย และมีการแบ่งใช้ทรัพยากรร่วมกัน (shared services) ได้ด้วย และการจ่ายเงินเพื่อเช่าระบบ ก็สามารถจ่ายตามความต้องการของเรา ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้นได้ หากวันใดความต้องการมีมากขึ้นก็สามารถซื้อเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ Cloud Computing ได้ โดยที่ไม่ต้องอัพเกรดระบบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้วุ่นวาย ดังนั้น ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง รวมไปถึงสถาบันการศึกษา จึงหันมาใช้บริการ Cloud Computing ที่ทั้งช่วยลดต้นทุนและลดความยุ่งยากทั้งหลายกันมาก คล้ายกับเป็นการ Outsource งานนี้ออกไปเพื่อจะได้ Focus กับงานหลักของตนเองจริงๆ
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)